วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

BiG Bear :D


"BiG BeArS"








BiG Bear
          หมีเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยกระจายไปทั่วภูมิภาคของโลก เช่น หมีแพนด้าพบในประเทศจีน หมีแว่นจะพบที่อเมริกาใต้ หมีดำจะพบทางตอนเหนือของอเมริกา หมีสีน้ำตาลจะอยู่แคนาดา หมีหมาหมีควายจะพบที่ประเทษไทย เป็นต้น ส่วนใหญ่หมีจะอยู่ตามภูเขา ป่า หรือสวนสัตว์ ส่วนใหญ่คนจะไม่ค่อยรู้จักว่าหมีมีกี่ชนิด อยู่ส่วนไหนในโลกบ้าง ที่ดิฉันทำเรื่องหมีอยากจะศึกษาและรวบรวมข้อมูลให้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง หมี หมีมีกี่ชนิด มีลักษณะอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไหน ใกล้จะสูญพันธุ์รึยัง และในการศึกษาครั้งนี้ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยที่จะศึกษาเรื่องหมี เรามารู้จักหมีกันดีกว่า



 ลักษณะของหมี...
             หมี Bear จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารหมีจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้มีการจำแนกหมีออกเป็นทั้งหมด ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) โดยมีการกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคของโลก ตั้งแต่ ไซบีเรียหรือขั้วโลกเหนือทวีปอเมริกาเหนือทวีปอเมริกาใต้เอเชียใต้เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่พบที่ทวีปแอฟริกา และโอเชียเนีย


                     แพนด้ายักษ์ หรือ ไจแอนท์แพนด้า Giant panda
            หรือที่นิยมเรียกว่า หมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว
              ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุดมีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติอย่างไรก็ดี ปี ค.ศ. 2006 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้นสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

แพนด้ายักษ์มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน ซานซี กานซูและทิเบต พนด้ายักษ์เป็นสัญลักษณ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลก องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และรูปภาพของมันได้อยู่บนเหรียญทองของจีน   ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมการกินของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
            หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ  กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลอง     ทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิดี้ (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง วงศ์ไอเลอริดี้ (Ailuridae)
            แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่าหมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือ และมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
          แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1869 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส อาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1869 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จัก ว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี ค.ศ. 1916 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1936 รุธ ฮาร์คเนสเป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐฯ เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก  แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี"
            อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของ

                                                    หมีแว่น (Spectacled Bear)
          เป็นหมีสายพันธุ์ที่ค่อนข้างเล็กเป็นหมีพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีขนสีดำกับสีเบจมีลักษณะสีที่โดดเด่น เกือบทั่ว ใบหน้าและส่วนบนของหน้า คล้ายใส่แว่นอยู่ เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย เพศผู้มีน้ำหนัก 100 - 200 กิโลกรัม 
(220-440 ปอนด์ ) และเพศเมียหนัก 35 -82 กิโลกรัม (77-181 ปอนด์) ความยาวประมาณ 120-200 ซม. (47-79 นิ้ว) ยาวและความสูงที่ไหล่ 60-90 ซม. (24-30 นิ้ว) หมีแว่นถูกพบในหลายพื้นที่ของภาคเหนือและตะวันตกอเมริกาใต้ รวมทั้งภาคตะวันออกของปานามา , ตะวันตกของเวเนซูเอลาโคลอมเบีย ,เอกวาดอร์ ,เปรู , ตะวันตกของโบลิเวียและทางตะวันตกเฉียงเหนืออาร์เจนตินา
หมีแว่นเป็นสายพันธุ์เดียวที่หลงเหลืออยู่ของหมีพื้นเมืองอเมริกาใต้และสมาชิกที่รอดตายเพียงพันธุ์เดียวของอนุวงศ์Tremarctinae . หมีแว่นมีความสามารถในการปีนป่ายอย่างดี แม้กระทั่งต้นไม้ที่สูงที่สุดของเทือกเขาแอนดี





                                            หมีดำ American Black Bear
         จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีถิ่นที่อยู่ในป่าทางตอนเหนือของอเมริกา พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้นความสูง; 2-3 ฟุต (0.6-0.9 เมตร) รอบตัว; 4-7 ฟุต (1.2-2เมตร) น้ำหนัก; 150-300 ปอนด์ หรือ 68-158 กิโลกรัม ในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้สามารถเจริญเติบโตได้สูงสุด 500-600 ปอนด์ หรือ 227-272 กิโลกรัม อายุเฉลี่ยยืนยาว 10- 30 ปี


หมีสีน้ำตาล Brown bear
            เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง  จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย เมื่อยืน 4 เท้ามีความสูงถึง ฟุต และเมื่อยืนด้วย 2 เท้า อาจสูงถึง 9 ฟุต แต่ยืนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากถึง1,000 ปอนด์ ส่วนตัวเมียอาจมีน้ำหนักมากกว่า 450 ปอนด์ มีขนสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ ปุ่มหรือเนินตรงหัวไหล่ มีขนและเล็บยาว มีจมูกที่ใหญ่ แต่มีใบหูขนาดเล็ก แต่จะมีขนสีเข้มหรืออ่อนไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่อาศัย รวมถึงขนาดตัวด้วย ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย (ดูในตาราง) โดยกระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ ๆ กว้างไกลมาก ตั้งแต่อะแลสกาแคนาดารัสเซีย, หลายพื้นที่ในยุโรป และตามแนวเทือกเขาหิมาลัยในอินเดียเนปาล และจีน และตะวันออกกลาง
          กินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้งพืชและสัตว์ โดยหากเป็นพืชมักจะเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่ บางครั้งกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง หรือ หนู แต่บางครั้งก็กินสัตว์ใหญ่ เช่น ม้าวัวป่ากวาง รวมถึงซากสัตว์ ในช่วงฤดูกาลที่มีอาหารสมบูรณ์ อาหารที่หมีสีน้ำตาลชอบมาก คือ ปลาแซลมอน และปลาเทราท์
        



หมีสีน้ำตาลตัวเมียต้องมีอายุ 4 ถึง 10 ปี จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และให้กำเนิดลูกโดยเฉลี่ย 2 ตัว ในระยะเวลา 4 ปี ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน แม่หมีจะให้กำเนิดลูกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปกติ 2-3 ตัว โดยลูกหมีที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และยังไม่มีขน ลูกหมีจะอาศัยอยู่ในถ้ำที่แม่หมีขุดขึ้นมาจนกระทั่งถึงเดือนเมษายน หรืออาจถึงเดือนมิถุนายน และเริ่มหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเริ่มเรียนรู้ว่า พืชหรือสัตว์ประเภทไหนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกหมีจะอยู่กับแม่อย่างน้อยอีก 1 ปี หรือมากกว่านั้น จากนั้นจึงเริ่มแยกตัวออกไป ส่วนในฤดูหนาว หมีสีน้ำตาลจะจำศีลในถ้ำเป็นระยะเวลาราว 2 เดือน โดยใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้


หมีกริซลีย์ Grizzly bear
              เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดเป็นชนิดย่อยของหมีสีน้ำตาล  จัดได้ว่าเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เมื่อตัวผู้ที่มีขนาดโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักได้ถึง 180-980 กิโลกรัม หรือ ตัน และยืนด้วยสองขามีความสูงถึง 2.5 เมตร หรือ เมตร
            มีรูปร่างและสีขนทั่วไปเหมือนกับหมีสีน้ำตาลทั่วไป แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ หมีกริซลีย์จะมีขนาดรูปร่างและน้ำหนักใหญ่กว่ามาก มีส่วนจมูกและปากที่ยื่นแหลมออกมา และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากตรงบริเวณระหว่างหัวไหล่ของขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ที่ปูดเป็นหนอกขึ้นมา ซึ่งไม่มีในหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งทำให้หมีกริซลีย์มีพละกำลังในการขุด, ตะปบ, ปีนป่าย และวิ่ง ซึ่งความเร็วในการวิ่งเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีเล็บนิ้วยาวและแข็งแรง แหลมคม ซึ่งมีความยาวพอ ๆ กับนิ้วมือมนุษย์ สามารถกินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักผลไม้เป็นอาหาร เช่น ผลไม้จำพวกเบอร์รี แต่อาหารหลักของหมีกริซลีย์แล้วจะเป็นปลา โดยจะลงไปจับในลำธารหรือน้ำตกขณะที่ปลาว่ายผ่าน
        


        หมีกริซลีย์ กระจายพันธุ์อยุ่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกา ความใหญ่โตของร่างกายขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ทำให้หมีกริซลีย์ที่อยู่ในประเทศแคนาดาและอะแลสกาจะตัวใหญ่กว่าในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีอาหารที่อุมสมบูรณ์กว่า แต่เมื่อถึงฤดูหนาวก็จะเข้าถ้ำเพื่อจำศีลเช่นเดียวกับหมีทั่วไป ขณะที่ตัวเมียที่ตั้งท้องจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ครั้งละไม่เกิน 3 ตัว โดยที่แม่หมีหรือหมีที่จำศีลจะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานที่สะสมไว้จากอาหารที่กินเก็บไว้เผื่อก่อนเข้าสู่ฤดูกาลนี้ ซึ่งลูกหมีที่เกิดใหม่ จะมีความยาวราว นิ้ว และไม่มีขนปกคลุมลำตัวเลย ยังไม่มีฟันและลืมตาไม่ได้ ใน 40 วันแรก ลูกหมีจะไม่ทำอะไรเลยนอกจากดูดนมแม่และนอนซุกอยู่กับตัวแม่ และจะมีพัฒนาการขึ้นเรี่อย ๆ ภายในระยะเวลา 1 ปี ลูกหมีจะมีน้ำหนักได้ประมาณ 50 ปอนด์ เมื่อโตได้ที่แล้ว แม่หมีจะพาลูก ๆ ออกจากถ้ำเพื่อหาอาหาร และสอนวิธีการดำรงชีวิตให้ ปกติแล้วหมีกริซลีย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่สันโดษ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือช่วงที่มีลูกอ่อน หรือในช่วงที่อาหารขาดแคลน ซึ่งหมีจะมีความดุร้ายมาก และบุกเข้าทำร้ายและฆ่าผู้รุกรานได้ ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์





 หมีหมา หรือ หมีคน Malayan sun bear, Honey bear
          หมีหมาเป็นหมีที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร ขนตามตัวสั้นสีดำปนสีน้ำตาล ขนบริเวณอกโค้งเป็นรูปตัว สีขาวนวล บริเวณหน้าตั้งแต่ตาไปถึงปลายจมูกสีค่อนข้างขาว หรือน้ำตาลอ่อน ปกติหมีหมาหากินกลางคืน บางครั้งก็ออกหากินกลางวัน มักหากินเป็นคู่ อยู่ในป่าทึบ ไม่ชอบอยู่ตามเขา ดุร้ายและขึ้นต้นไม้เก่งกว่าหมีควาย (U. thibetanus) มีอุปนิสัยโมโหง่าย ชอบนอนบนต้นไม้หรือตามโพรงไม้สูง ๆ ไม่ชอบนอนพื้นดิน บางครั้งร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่ากระโชก จึงเรียกว่า หมีหมา เมื่อยืน 2 ขา จะยืนตัวตรง จึงเรียกอีกชื่อว่า หมีคน


            หมีหมา พบในพม่าอินโดจีนไทยมาเลเซียสุมาตราบอร์เนียว, ภาคใต้ของจีน ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้หมีหมา ชอบกินลูกไม้ ใบไม้อ่อน สัตว์เล็ก ๆ แมลงรวมทั้งไส้เดือน ที่ชอบมาก คือน้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังชอบกินเนื้ออ่อนของมะพร้าว จะมีการผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ตั้งท้องประมาณ 95-96 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว อายุยืนถึง 20 ปี

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก Polar bear
           เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจัดเป็นหมีชนิดหนึ่งหมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากหมีกริซลีย์ (U. arctos horribilis) (บางข้อมูลจัดให้เป็นที่ 1) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวผู้เต็มวัยอาจสูงได้ถึง เมตร น้ำหนักตัวอาจมากได้ถึง 350–680 กิโลกรัม (770–1,500 ปอนด์) หมีขาวมีรูปร่างที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีส่วนคอที่ยาวกว่า ขณะที่ใบหูก็มีขนาดเล็ก อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ และที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด คือ สีขนที่เป็นสีขาวครีมอมเหลืองอ่อน ๆ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เนื่องจากถูกความเค็มของเกลือในทะเล ซึ่งขนสีครีมนี้ทำให้พรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะและน้ำแข็งได้เป็นอย่างดี หมีขาวกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะซีกโลกทางเหนือ บริเวณขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติกเท่านั้น จัดได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกนี้ อุ้งเท้าของหมีขาวมีขนรองช่วยให้ไม่ลื่นไถลไปกับความลื่นของพื้นน้ำแข็ง หมีขาวถือเป็นสัตว์ที่เดินทางไกลมาก โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการนั่งบนแผ่นหรือก้อนน้ำแข็งลอยตามน้ำไป หรือไม่ก็ว่ายน้ำหรือดำน้ำไป ซึ่งหมีขาวจัดเป็นหมีที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่งมาก โดยใช้ขาหน้าพุ้ย หรือบางครั้งก็ใช้ทั้ง 4 ขา เคยมีผู้พบหมีขาวว่ายอยู่ในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 200 ไมล์ เป็นหมีที่ถือได้ว่ากินอาหารมากกว่าหมีชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาหารของหมีขาวมีมากมาย เช่น แมวน้ำ หรือ วอลรัส ด้วยการย่องเข้าไปเงียบ ๆ หรือหลบซ่อนตัวตามก้อนหินหรือก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้แล้วบางครั้งยังอาจจับนกทะเล ทั้งไข่และลูกนก บางครั้งก็จับปลากิน หรืออาจจะกินซากของวาฬที่ตายเกยตื้นได้อีกด้วย เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวในเขตอาร์กติก (ราวเดือนธันวาคม-มกราคมดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ คล้อยต่ำลงเรื่อย ๆ จนไม่ปรากฏอีกเลยที่เส้นขอบฟ้าตลอดฤดูกาล ซึ่งช่วงเวลานี้นับได้ว่าเป็นช่วงที่หฤโหดที่สุดในภูมิภาคนี้ เพราะไม่มีแสงสว่าง กลางวันจะมืดเหมือนกลางคืน อาหารก็ขาดแคลน พร้อมด้วยพายุหิมะติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
           หมีขาว ในช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่ให้กำเนิดลูก โดยการขุดโพรงในน้ำแข็งหรือใต้ก้อนหิน เมื่อหิมะตกทับถมมา ผนังถ้ำจะหนาขึ้น และมีความอบอุ่นคล้ายกับอิกลูของชาวเอสกิโม แม่หมีจะคลอดลูกภายในถ้ำนั้น ลูกหมีเกิดใหม่จะมีความยาวราว 20 นิ้วเท่านั้น และมีน้ำหนักตัวไม่ถึงกิโลกรัมดี ซึ่งครั้งหนึ่ง แม่หมีจะออกลูกได้ราว 2 ตัว ในบางครั้งอาจมากถึง 4 ตัว ลูกหมีเกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม และยังไม่มีขนปกคลุมตามลำตัว และจะลืมตาได้เมื่ออายุราว 33 วัน แต่เลนส์ตาจะยังใช้การไม่ได้เต็มที่จนเมื่อมีอายุประมาณ 47 วัน และ ประสาทหูจะได้ยินเมื่ออายุ 26 วัน แต่จะใช้การได้ดีที่สุดเมื่ออายุได้ เดือน เมื่อลูกหมีอายุเข้า 6 สัปดาห์ครึ่ง ก็ตรงกับช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นฤดูหนาวพอดี 
          สำหรับแม่หมีในช่วงนี้จะไม่กินอาหารเลย แต่จะใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้ แม้กระทั่งหมีตัวผู้ก็จะเข้าสู่ถ้ำเพื่อจำศีล เมื่อผ่านพ้นฤดูหนาวไปแล้ว หิมะและน้ำแข็งเริ่มละลาย แสงแดดกลับมาอีกครั้ง (เดือนมีนาคม-เมษายน) ซึ่งในช่วงนี้ หมีตัวเต็มวัยอาจจะกินหญ้าหรือมอสส์ เป็นอาหารรองท้องได้ ลูกหมีจะหย่านม แม่หมีจะพาลูก ๆ ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อสอนวิธีการล่าเหยื่อให้ ลูกหมีจะอยู่กับแม่จนอายุได้ขวบกว่า จากนั้นจะจากแม่ไปเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศรัสเซีย



หมีควาย Asiatic black bear, Tibetan black bear
           จัดเป็นหมี 1 ใน ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย อีกหนึ่งคือ หมีหมา หมีควายมีลำตัวอ้วนใหญ่ หัวมีขนาดใหญ่ ตาเล็กและหูกลม ขาอ้วนล่ำและหนา หางสั้น มีนิ้วเท้ายาวทั้งหมดห้านิ้ว กรงเล็บสั้น ขนตามลำตัวหยาบมีสีดำ มีลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณหน้าอกเป็นรูปตัว V มีสีขาว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ความยาวลำตัวและหัว 120-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-10 เซนติเมตร น้ำหนักอาจหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม
           หมีควาย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวางพบตั้งแต่ ภาคตะวันออกของปากีสถาน, ภาคเหนือของอินเดียธิเบตเนปาลสิกขิมภูฐานพม่าไทยลาว,เวียดนามจีนคาบสมุทรเกาหลีญี่ปุ่น และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย มักเลือกอาศัยอยู่ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอากาศเย็น เช่น ป่าบนภูเขาหินปูน
          หมีควายกินอาหารได้หลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ผลไม้ใบไม้หน่อไม้, ซากสัตว์แมลง, รังผึ้ง และตัวอ่อนของผึ้ง บางครั้งอาจเข้ามากินในพื้นที่เกษตรกรรม มักออกหากินในเวลากลางคืน ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่ชอบฉีกเปลือกไม้เพื่อหาแมลงใต้เปลือกไม้ หรือใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์บอกถึงอาณาเขตของ



 ตัว ตามปกรติมักอาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน อาจหากินเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ออกลูกครั้งละไม่เกิน 2 ตัว ตามโพรงไม้หรือในถ้ำที่ปลอดภัย หมีควายเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดี จึงค่อนข้างดุร้าย เมื่อตกใจหรือสงสัยจะยืนด้วยขาหลัง ต่อสู้กับศัตรูโดยการตะปบด้วยขาหน้าและกัดด้วยฟันอย่างรุนแรง นอกจากนี้แล้วยังมีพฤติกรรมที่แปลก คือ ชอบขดตัวกลมแล้วกลิ้งลงมาจากเนินเขา สันนิษฐานว่าเป็นการเล่นสนุก

หมีสลอท (Sloth Bear)
          เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์หมี (Ursidae) ถือเป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าพื้นต่ำของหลายประเทศ รวมถึงอินเดีย เนปาล ปากีสถาน ภูฏาน บังกลาเทศ และศรีลังกา จัดเป็นหมีเพียงชนิดเดียวในสกุล Melursus ซึ่งก่อนหน้านี้มันเคยถูกจัดเป็นตัวสลอทหมี เพราะเท้าเป็นลักษณะกรงเล็บโค้งเข้าหาลำตัว และชอบอาศัยหรือใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้หรือพุ่มไม้เหมือนตัวสลอท ก่อนถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมีราวช่วงทศวรรษ 1800
            เจ้าหมีสลอทมีหน้าตาไม่ต่างไปจากหมีหมาหรือหมีคนสักเท่าไร ลำตัวยาวประมาณ 150-190 เซนติเมตร มีขนยาวสีออกน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแดง ไปจนถึงสีดำ ที่หน้าอกมีขนสีขาวรูปตัววี จมูกยาวสีขาว ริมฝีปากยืดห่างจากเหงือก และไม่มีขากรรไกรบน ซึ่งเป็นลักษณะของการปรับตัวเพื่อกินอาหารที่มีแมลงเป็นหลัก ส่วนเท้ามีลักษณะเป็นกรงเล็บโค้ง เหมาะสำหรับใช้ขุดและปีนต้นไม้ และมีรอยเท้าคล้ายมนุษย์ ตัวผู้มีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย โดยจะหนักประมาณ 80-140 กิโลกรัม เทียบกับน้ำหนัก 55-95 กิโลกรัมของตัวเมีย และมีหางยาวที่สุดในตระกูลหมี นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์อายุยืน ตัวที่เลี้ยงไว้ในกรงสามารถอยู่ได้นานถึง 40 ปี
             
เจ้าหมีสลอทนอกจากปีนป่ายต้นไม้เก่ง กินนอนอยู่บนต้นไม้เป็นหลักแล้ว มันยังสามารถกระโดดได้ในระยะไกลถึง 10 ฟุต และห้อยหัวลงจากต้นไม้ได้เหมือนสลอท ส่วนเขตที่อยู่นั้นมันจะทำเครื่องหมายบอกชัดเจนด้วยวิธีถูสีข้างกับต้นไม้หรือใช้เล็บขูดเปลือกต้นไม้ และเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสดี จมูกดี หูดี สามารถได้ยินเสียงในระยะไกลนับ 100 ฟุต

             เจ้าหมีสลอทชอบออกหากินในเวลากลางคืน นอนในเวลากลางวัน อาหารหลักของมันคือ มดและปลวก โดยมันอาศัยกรงเล็บที่แข็งแรงพังจอมปลวก ส่วนอาหารอื่นๆก็มีพวกน้ำผึ้ง ไข่ นก ดอกไม้ ผลไม้ เนื้อ และธัญพืชอื่นๆ มันสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง